วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชาหลักการวัดและประเมินผลการศึกษา

จุดมุ่งหมายทางการศึกษาแสดงถึงเป้าหมายหรือสิ่งที่คาดหวังจากการจัดการศึกษา ซึ่งจะเป็นการชี้ให้เห็นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อก่อให้เกิดผลตามเป้าหมายที่ต้องการ ตลอดจนสามารถใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนของผู้เรียนรู้ว่าได้บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด การประเมินผลอย่างเป็นระบบจะช่วยให้ข้อมูลย้อนกลับ(Feedback)ถึงจุดมุ่งหมายทางการศึกษาว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้เพียงใด การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้ดำเนินงานไปตามแผนหรือไม่และมีประสิทธิภาพเพียงใด ตลอดจนมีผลลัพธ์และผลกระทบอะไรเกิดขึ้นและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษามากน้อยเพียงใด องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันตลอดเวลาในการจัดการศึกษา โดยขอกล่าวถึงรายละเอียดของทั้ง 3 ส่วน พอเป็นสังเขปดังนี้
2.1  จุดมุ่งหมายทางการศึกษา (Educational Objectives)
จุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็นเป้าหมายหรือความมุ่งหวังทางการศึกษา ซึ่งมีอยู่หลายระดับตั้งแต่ระดับสูงสุดที่เขียนอย่างกว้างๆ เพื่อใช้เป็นทิศทางของความมุ่งหมายว่าต้องการจัดการศึกษาเพื่อใด จัดอย่างไรและต้องการผลลัพธ์อะไร จนถึงระดับต่ำสุดซึ่งมีความเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง และพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวัง ตัวอย่างของจุดมุ่งหมายทางการศึกษาในระดับต่างๆ กัน เช่น ปรัชญาการศึกษา จุดมุ่งหมายของระดับการศึกษา (ปฐมวัย,ประถมศึกษา,มัธยมศึกษา,อุดมศึกษา) จุดมุ่งหมายของสถาบัน จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หมวดวิชา รายวิชา และหน่วยการสอน จุดมุ่งหมายทุกระดับมีความสำคัญในตัวเองและจะต้องมุ่งสู่ทิศทางหรือแนวทางร่วมกัน
            การกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษา มักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับความคลุมเครือของคำที่ใช้จึงมีคณะบุคคลพยายามจัดหมวดหมู่ และระดับชั้นของพฤติกรรมการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้การกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็นไปอย่างรัดกุมและสื่อความหมายตรงกันยิ่งขึ้น เช่น Benjamin S.Bloom ได้จำแนกจุดมุ่งหมายทางการศึกษาออกเป็น 3 หมวดดังนี้
(1)   พุทธิปริเขต (Cognitive Domain)
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่แสดงลำดับชั้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสมองซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางด้านสติปัญญาเกี่ยวกับความรู้ ความคิด และการแก้ปัญหา Bloom et al.(1956) ได้จัดลำดับตามความซับซ้อนของพุทธิปริเขต เป็น 6 ขั้น ดังนี้ ความรู้ (Knowledge or Recall), ความเข้าใจ (Comprehension), การนำไปใช้ (Application), การวิเคราะห์ (Analysis), การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมินผล (Evaluation)
(2)   จิตตะปริเขต (Affective Domain)
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่แสดงลำดับขั้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในจิตใจซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางด้านอารมณ์และความรู้สึก เช่น เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ ความซาบซึ้ง เป็นต้น Krathwohl et al (1964) ได้จัดลำดับพัฒนาการตามความซับซ้อนของจิตตะปริเขตดังนี้ ขั้นการรับรู้ (Receiving), การตอบสนอง (Responding), การสร้างค่านิยม (Valuing), การจัดระบบค่านิยม (Organization) และการแสดงลักษณะตามค่านิยม (Characterization)

(3)   ทักษะปริเขต (Psychomotor Domain)
เป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่แสดงลำดับขั้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น กับระบบประสาทสัมผัสกล้ามเนื้อ และอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นการเรียนรู้ทางด้านทักษะการเคลื่อนไหวและใช้ส่วนต่างๆ ของต่างกายได้อย่างคล่องแคล่วสัมพันธ์กัน โดยมีขั้นตอนของการพัฒนาดังนี้ การทดลองปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ และสร้างปฏิบัติการใหม่
จุดมุ่งหมายที่มีความสำคัญมากสำหรับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ จุดมุ่งหมายของการสอน (Instructional Objectives) Mager (1962) ได้เสนอแนะว่าจุดมุ่งหมายของการสอนที่ดี ควรระบุถึงพฤติกรรมของผู้เรียนที่ผู้สอนปรารถนาให้เกิดขึ้นอันเป็นผลเนื่องมาจากการเรียนการสอน หรือที่เรียกกันว่า วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective) ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ เป็นวัตถุประสงค์ที่เขียนอย่างเฉพาะเจาะจงโดย 1) ระบุคำแสดงพฤติกรรมของผู้เรียนที่คาดหวังให้เกิดขึ้น และเป็นพฤติกรรมที่ผู้สอนสามารถวัดหรือสังเกตได้อย่างเป็นปรนัย 2) ระบุเงื่อนไขของการเกิดพฤติกรรมที่คาดหวัง และ 3) กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของการบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวดังตัวอย่าง
-                      จากกิจกรรมท้ายบท 10 ลักษณะ ผู้เรียนจะต้องสามารถแสดงการจำแนกประเภทของการวัดและประเมินผลได้ถูกต้องอย่างน้อย 8 ลักษณะ
-                      เมื่อแสดงรูปภาพบนแผ่นกระดาษ ผู้เรียนจะต้องสามารถบอกว่าเป็นรูปภาพเกี่ยวกับการวัดความยาว, พื้นที่, หรือปริมาตรได้อย่างถูกต้องอย่างน้อย 90% ของจำนวนรูปภาพที่นำมาแสดง
2.2  การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning experience)
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นการสร้างสถานการณ์หรือเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่พึงประสงค์อย่างถาวร วิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันทางการศึกษาคือ การสอนซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายทอดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบต่างๆ กันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านพุทธิปริเขต จิตตะปริเขต หรือทักษะปริเขตตามที่กำหนดไว้ การวางแผนการเรียนการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้

วิชากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม

เกี่ยวกับมลพิษทางน้ำและทางอากาศ


1. ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว บางฉบับนานกว่า 1 ศตวรรษ ได้แก่
            พระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.. 112
            พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456
            พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2484
2. แต่กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยมีในช่วงแรกดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์โดยตรงในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หากแต่เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์หลักในเรื่องอื่น ซึ่งมีบทบัญญัติเรื่องสิ่งแวดล้อมรวมอยู่ด้วย เช่น
            พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อมุ่งวางระเบียบการสัญจรทางน้ำ แต่มีบทบัญญัติบางมาตราที่ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งกรวด หิน ดิน ทราย หรือสิ่งปฏิกูลอย่างอื่นลงในแม่น้ำ ลำคลอง ทางน้ำ หรือพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2484 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดการการใช้ประโยชน์ของป่าไม้ เช่นการให้สัมปทานฯลฯ แต่มีบทบัญญัติบางมาตราที่ห้ามตัดไม้บางชนิด ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3. ต่อมาได้มีการบัญญัติกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.. 2518 คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2518
            สาเหตุของการออกพระราชบัญญัติดังกล่าวเนื่องจาก
(1)   น้ำในแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีนเน่าเสียอย่างรุนแรง ปลาในแม่น้ำดังกล่าวตายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาลหลายแห่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำดังกล่าว
(2)     แรงกดดันจากนานาอารยะประเทศที่เข้าประชุมสหประชาชาติว่าด้วยมนุษย์และสิ่งแวดล้อม (United Nations Conference of Human and the Environment) ที่กรุงสตอคโฮม ประเทศสวีเดน เมื่อปี พ.. 2515 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมด้วย และที่ประชุมได้มีมติให้ประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญามีพันธะกรณีให้ต้องออกกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นการเฉพาะ
4. ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2518 อีกหลายครั้ง และครั้งล่าสุดคือ เมื่อ พ.. 2535 ในสมัยที่นายอานันท์  ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในสมัยนี้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับอื่นที่แม้ไม่มีวัตถุประสงค์โดยตรงในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วยอีกหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. 2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.. 2535
5. ดังนั้นเมื่อนับจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่มากมายหลายฉบับเช่น
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540
            พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2535
            พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2584
            พระราชบัญญัติการประมง พ.. 2490
            พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.. 2507
            พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2535
            พระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535
            พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.. 2535
            พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456
            พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.. 2535
            พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. 2535
            ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
            ประมวลกฎหมายอาญา
            ประมวลกฎหมายที่ดิน
6. ดังได้กล่าวแล้วว่าประเทศไทยได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมมากเป็นประวัติการณ์ใน พ.. 2535 ซึ่งกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวมีหลักเกณฑ์สำคัญดังนี้
- การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- หลัก ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย
- มาตรการจูงใจ
- ความรับผิดชอบทางแพ่งอย่างเคร่งครัด
- มาตราการทางปกครอง
- โทษทางอาญา
7. หลักการใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าวส่วนมากประเทศไทยรับเอามาจากต่างประเทศซึ่งประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมมาก่อนประเทศไทย
8. อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกฎหมายและมีหลักการใหม่ๆ หลายประการดังกล่าว แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างต่อเนื่อง และการวิจัยพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยประสบมากที่สุดคือเรื่องมลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ
9. จึงเกิดคำถามว่าเมื่อประเทศไทยได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยนำเอาหลักการใหม่ๆ ที่ใช้ได้ผลในต่างประเทศมาแล้ว เหตุใดจึงยังมีปัญหามลพิษอยู่
10. ในการวิเคราะห์เรื่องนี้ ในเบื้องต้นต้องพิจารณาถึงความหมายของกฎหมายและกลไกที่จะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้เสียก่อน
11. กฎหมาย หมายถึง ข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ หากฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษ
12. เห็นได้ว่ากฎหมายต้องมี สภาพบังคับ” (Sanction)
13. ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) จึงเป็น หัวใจของกฎหมาย
14. ประเด็นพิจารณา
-          ปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทยเกิดจากการขาดการบังคับใช้กฎหมายจริงหรือไม่
-          ถ้าใช่เกิดจากสาเหตุอะไร
-          ควรจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
15. ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของกฎหมายสิ่งแวดล้อมไทย ควรพิจารณาจากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยในปัจจุบัน

วิชาภาษาไทยธุรกิจ

ผลลัพธ์ในการสื่อสารของมนุษย์

                   การสื่อสารเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะมีโอกาสที่จะเข้าใจผิดได้ง่าย เนื่องจากเป็นกิจกรรมร่วมระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ต้องเป็นความรับผิดชอบของคนทั้ง 2 ฝ่าย หากฝ่ายใดไม่มีความรับผิดชอบโอกาสจะเกิดความผิดพลาดก็มีได้

                   อย่างไรก็ตามกระบวนการสื่อสารจำเป็นต้องมีวิธีและกระบวนการที่พิจารณาอย่างละเอียด การสื่อสารไม่ใช่แค่การระบายความคิดที่เรามีอยู่เท่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การถ่ายทอดเหมือนการถ่ายทอดดนตรี ไม่มีการคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับสาร  ถ้าเป็นการสื่อสารแล้วจะต้องมีการรับรู้ของผู้รับสารเกิดขึ้นด้วย  ไม่ใช่การส่งออกจากผู้ส่งสารอย่างเดียว  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การสื่อสารที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกระบวนการการรับสารของผู้รับสาร

                   การปรับปรุงทักษะการสื่อสารของตนเองถือเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการสื่อสาร  นั่นคือต้องมีการปรับปรุงความสามารถในการฟัง  การสังเกต  การอ่านและการมองก่อนที่จะไปปรับปรุง การพูดหรือการเขียน

                   จะเห็นว่า  การพัฒนาทักษะนั้นต้องเริ่มจากการเป็นผู้รับสารที่ดีก่อน จึงเข้าก้าวไปสู่การเป็นผู้ส่งสารผ่านทางวัจนภาษา       การเข้าใจกระบวนการสื่อสารให้ดีจะเข้าใจได้ถึงความซับซ้อนของกระบวนการสื่อสาร แต่ถ้าเราใช้เวลานานขึ้นในการศึกษาและปรับปรุงทักษะในการสื่อสารเราก็จะเข้าใจและสามารถควบคุมได้  เหมือนกับลมหายใจเข้าออกของเราที่มีติดตัวเราอยู่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  แต่หากเรารู้จักวิธีการควบคุมเราก็จะได้ประโยชน์จากการหายใจเช่นเดียวกับ ได้ประโยชน์จากการสื่อสารเช่นเดียวกัน  เพียงแต่เราต้องเรียนรู้วิธีการที่เหมาะสมเท่านั้น

                   เราต้องยอมรับว่า  การสื่อสารเป็นคุณสมบัติที่ทุกคนต้องมีเหมือนกับลมหายใจ  เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนและเสริมสร้างเพื่อความอยู่รอด  เป็นทักษะในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันของมนุษย์  ความสัมพันธ์อันดีจะนำไปสู่คุณภาพในการทำงานด้วย  ความสำเร็จในการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งแต่ไหนจะแตกต่างกันไปตามทักษะของบุคคลนั้น  แต่โดยทั่วไปแล้วความสำเร็จในการสื่อสารจะมีน้อยกว่าที่เราคิดหรือสรุปเอาเอง  ทั้งนี้เพราะความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดการสื่อสาร

                   การสื่อสารด้วยคำพูดตัวต่อตัวมีโอกาสที่จะเข้าใจกันได้ง่ายที่สุด  เพราะคนมีโอกาสได้เห็นหน้ากันเมื่อไม่เข้าใจก็สามารถซักถามสามารถจะเรียนรู้ร่วมกันได้  การรับสารที่ถูกต้องตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ  จนติดเป็นนิสัยเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความผิดพลาดของการสื่อสาร  คนส่วนใหญ่มักจะขาดความอดทนที่จะทบทวนข้อมูลที่ส่งออกไป  รวมั้งในบางครั้งก็มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จของตนเองจนลืมสำรวจความเข้าใจของคนอื่น ไม่สนในการปรับปรุงตนเอง เหล่านี้จะเป็นจุดอ่อนของคนส่วนใหญ่

                   ในความจริงแล้วเมื่อผู้รับสารได้ยินเรื่องเดียวกันกับที่ผู้ส่งสารส่งออกไป นั่นหมายความว่ากระบวนการสื่อสารได้เกิดขึ้น   แต่หากจะทำให้การสื่อสารสมบูรณ์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ผู้รับสารได้ยินเรื่องเดียวกับที่ผู้ส่งสารส่งออกไปเท่านั้น  แต่ผู้รับสารต้องเข้าใจเนื้อหาสาระที่ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ด้วย  ถ้าหากเราสามารถแยกทั้งสองสิ่งนี้ออกจากกันได้ก็สามารถลดความล้มเหลวในการสื่อสารได้  นั่นก็คือการส่งสารจะถูกตีความสองครั้ง  ครั้งแรกโดยผู้ส่งสาร  ครั้งที่สองโดยผู้รับสาร  ดังนั้นการตีความสองครั้งนี้อาจจะมีความหมายแตกต่างกันก็ได้

                   ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการล้มเหลวในการสื่อสาร  อาจก่อให้เกิดผลร้ายอย่างคาดไม่ถึง  อาจกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในกรณีนี้ผู้ส่งสารต้องระมัดระวังไม่ยึดติดอยู่กับความหมายแรกของตนซึ่งอาจไม่เหมือนคนอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพในการสื่อสารของตนเองด้วย

                   การเรียนรู้ว่าอาจมีช่องว่างในการสื่อสารดังนี้ จะช่วยลดความเข้าใจผิดในการสื่อสารลงได้  ถ้าผู้ส่งสารอุดช่องว่าง  พยายามรับฟัง  ตอบสนอง  เอาใจใส่  และพยายามเข้าใจกันมากขึ้น  ความสำเร็จในการสื่อสารจะมีเพิ่มมากขึ้นด้วย  การสื่อสารเป็นเรื่องของทักษะ เกิดจากการฝึกฝนยิ่งฝึกฝนยิ่งเรียนรู้ด้วยตนเอง  พยายามสังเกตปรับปรุงในไม่ช้าก็จะกลายเป็นทักษะ  มีความชำนาญ สามารถทำได้รวดเร็วเป็นที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการสื่อสารอย่างแน่นอน

                   การสื่อสารในการทำงานมีกฎเกณฑ์ อย่างนี้คือ การสื่อสารไม่ได้ทำเพื่อความสนุกสนาน แต่ทำเพื่อให้งานทุกอย่างสำเร็จเข้าใจว่าด้วยสื่อแต่ละประเภทที่มีความแตกต่างกัน หากคนเราได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันย่อยๆ  โอกาสเกิดความเข้าใจระหว่างกันมีมากขึ้น  โดยเป็นการพูดแบบซึ่งทำให้เห็นเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน การสื่อสารบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องวางแผน หากเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ไม่ได้หมายความว่าเกิดขึ้นโดยบังเอิญ การสื่อสารที่เกิดจาก ทักษะความรู้  ความเคยชิน  เป็นการสื่อสารที่เกิดการประสบการณ์ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง    ผู้สื่อสารต้องเรียนรู้ถึงข้อมูลในการสื่อสาร    เช่นในการใช้ภาษาในการสร้างผลกระทบ 10 % เป็นเสียง 40%  และภาษาภาย 50%  การเลือกใช้ภาษาใดในการสื่อสารจะเป็นทักษาะที่ผู้สื่อสารควรเลือกใช้ให้เหมาะสม


วิชาความจริงของชีวิต

กฎแห่งกรรม

                หลักกรรมหรือกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า บุคคลทำกรรมใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เขาย่อมต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้นแต่เนื่องจากกรรมบางอย่างหรือการกระทำบางคราวไม่มีผลปรากฏชัดในทันที ผู้มีปัญญาน้อยจึงมองไม่เห็นผลแห่งกรรมของตน ทำให้สับสนและเข้าใจไขว้เขว เพราะบางทีกำลังทำชั่วอยู่แท้ ๆ มีผลดีมากมาย เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลั่งไหลเข้ามาในชีวิต ตรงกันข้ามบางคราวกำบังทำความดีอยู่อย่างมโหฬาร แต่กลับได้รับความทุกข์ทรมานต่าง ๆ มีผลไม่ดีมากมาย เช่น ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทาว่าร้ายถูกสบประมาท และความเจ็บไข้ได้ป่วยหลั่งไหลเข้ามาในชีวิต
                ความสลับซับซ้อนดังกล่าว ทำให้ผู้รับผลของกรรมสับสน เกิดความไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความชั่วจริง ๆ หรือ ?
                ตามความเป็นจริงแล้ว กรรมชั่วที่เขากำลังทำอยู่ยังไม่ทันให้ผล กรรมดีที่เขาเคยทำไว้ก่อนถึงวาระให้ผลในขณะที่คนผู้นั้นกำลังทำชั่วอยู่ จึงทำให้เขาได้รับผลดีถ้าเปรียบทางวัตถุก็จะมองเห็นง่ายขึ้น เช่นคน ๆ หนึ่งกำลังปลูกต้นไม้อันเป็นพิษอยู่ มีผลไม้หอมหวานอร่อยสุกมากมายในสวนของเขา  เขาได้ลิ้มรสอันอร่อยของผลไม้ซึ่งเขาปลูกไว้ก่อน ต่อมาต้นไม้มีพิษออกผลในขณะที่เขากำลังปลูกต้นไม้ที่มีผลอร่อยอยู่ เขาบริโภคผลไม้มีพิษ รู้สึกได้รับทุกเวทนาข้อนี้ฉันใด กรรมกับผู้กระทำกรรมก็ฉันนั้น กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว แต่เพราะกรรมจะให้ผลก็ต่อเมื่อสุกเต็มที่แล้ว (Maturation) และมีความสลับซับซ้อนมาก จึงทำให้งง ทั้งนี้ สามเหตุหนึ่งก็เพราะสติปัญญาของคนทั่วไปมีอยู่อย่างจำกัดมาก เหมือนแสงสว่างน้อย ๆ ไม่พอที่ส่องให้เห็นวัตถุอันสลับซับซ้อนอยู่มากมายในบริเวณอันกว้างใหญ่และบริเวณนั้นถูกปกคลุมอยู่ด้วยความมืด เมื่อใดดวงปัญญาของเขาแจ่มใสขึ้น เขาย่อมมองเห็นตามเป็นจริง ปัญญาของเขายิ่งแจ่มใสขึ้นเพียงใดเขาย่อมสามารถมองเห็นเรื่องกรรมและความสบับซับซ้อนของชีวิตมากขึ้นเพียงนั้น เหมือนแสงสว่างมีมากขึ้นเพียงใด ผู้มีจักษุปกติย่อมสามารถมองเห็นวัตถุอันละเอียดมากขึ้นเพียงนั้น
                สิ่งใดที่ละเอียดมาก เช่น จุลินทรีย์ มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนักวิทยาศาสตร์เขาใช้เครื่องมือคือกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอานุภาพขยายเป็นพัน ๆ เท่าของวัตถุจริง จึงทำให้มองเห็นได้ สิ่งใดอยู่ไกลมากระยะสายตาธรรมดาไม่อาจทอดไปถึงได้นักวิทยาศาสตร์เขาใช้กล้องส่องทางไกล จึงสามารถมองเห็นได้เหมือนวัตถุซึ่งปรากฏอยู่ ณ ที่ใกล้ข้อนี้ฉันใด
                ผู้ได้อบรมจิตและปัญญาแล้วก็ฉันนั้น เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิต สามารถเห็นได้ละเอียดรู้ได้ไกลซึ่งเรื่องกรรมและผลของกรรม ชนิดที่สามัญชนมองไม่เห็นหรือมองให้เห็นได้โดยยาก ทั้งนี้ เพราะท่านมีเครื่องมือคือปัญญาหรือญาณสามัญชนไม่มีปัญญาหรือญาณเช่นนั้นจึงมองไม่เห็นอย่างที่ท่านเห็น เมื่อท่านบอกให้บากคนก็เชื่อตาม บางคนไม่เชื่อ ใครเชื่อก็เป็นประโยชน์แก่เขาเองทั่งด้านการดำเนินชีวิตและจิตใจ หาความสุขได้เอง
                ผู้เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ได้กำไรกว่าผู้ไม่เชื่อคือทำให้เว้นชั่ว ทำดีได้มั่นคง ยั่งยืนกว่าผู้ไม่เชื่อ ทำให้เป็นคนดีในโลกนี้ จากโลกนี้ไปแล้วก็ไปบีนเทิงในโลกหน้าเมื่อประสบปัญหาชีวิตอันแสบเผ็ดก็สามารถทำใจได้ว่า มันเป็นผลของกรรมชั่วเมื่อประสบความรื่นรมย์ในชีวิตก็ไม่ประมาท มองเห็นผลแห่งกรรมดีและหาทางพอกพูนกรรมดีต่อไป

วิชาเทคโนโลยีการศึกษา

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

            เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
            เทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
            โดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
            นอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัด) นำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือ Internet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายรวมตัวกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งขยายความได้ดังนี้คือการที่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้โดยผ่านสาย Cable หรือ สายโทรศัพท์ ดาวเทียม ฯลฯ การติดต่อนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน หรือใช้อุปกรณ์ร่วมกันเช่น ใช้ Printer หรือ CD-Rom ร่วมกัน เราเรียกพฤติกรรมของคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ว่า เครือข่าย (Network) ซึ่งเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากขึ้น ๆ และมีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก จนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเรียกสิ่งนี้ว่า อินเตอร์เน็ต นั่นเอง

การที่คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น ว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนคนเรา คือต้องมีภาษาพูดคุยกันโดยเฉพาะคนไทยก็พูดภาษาไทย คนอังกฤษก็ต้องพูดภาษาอังกฤษ และภาษาอังกฤษได้ถูกกำหนดเป็นภาษาสากลในการติดต่อสื่อสารกันของทุกประเทศทั่วโลก สำหรับคอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ก็มีภาษาที่ใช้คุยกันเหมือนกัน ซึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ พูดคุยกันรู้เรื่องนั่นเอง ซึ่งเราเรียกว่าภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ว่า โปรโตคอล (Protocol)

เราลองคิดดูว่าเมื่อคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกันนั้น อาจเป็นคอมพิวเตอร์จากเมืองไทย ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ที่อเมริกา ซึ่งต้องมีความแตกต่างกันของชนิดเครื่องทาง Hardware และระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทาง Software แล้วถ้าคิดถึงทั่วโลกย่อมต้องมีความหลากหลายทาง Hardware และ Software กันมากมาย แต่ทำไมปัจจุบันคอมพิวเตอร์จึงสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะ คอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีภาษาสากลใช้สื่อสารกันโดยเฉพาะ คือเรียกว่ามี Protocol เฉพาะนั่นเอง ซึ่งเราเรียก Protocol เฉพาะนี้ว่า TCP/IP โดยย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol (TCP) Internet Protocol (IP) นั่นเอง

ประวัติอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1969 หรือประมาณปี พ.ศ. 2512 โดยพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) จุดประสงค์ของโครงการอาร์พาเน็ต เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คงความสามารถในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ แม้ว่าจะมีบางส่วนของเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้ก็ตาม

ในสมัยก่อนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เมื่อมีคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งตาย (Down) ลงการติดต่อสื่อสารระหว่างกันจะหยุดชะงัก ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้ระบบเครือข่ายหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงคิดค้นเครือข่ายอาร์พาเน็ตขึ้น เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งในระบบเครือข่ายตายลงหรือใช้การไม่ได้ การติดต่อสื่อสารยังคงดำเนินต่อไปได้อีก และนี่คือจุดเริ่มต้นของระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน

สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจประวัติโดยละเอียดของอินเตอร์เน็ต สามารถหาอ่านได้จากหนังสือที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ตทั่วไป

ปัจจุบันได้มีการพัฒนา อินเตอร์เน็ตในระบบความเร็วสูงขึ้นกว่าที่เป็นผู้เรียกว่า Internet II คาดว่าพวกเราสามารถใช้ได้ภายในอนาคตอันใกล้นี้

ประวัติและพัฒนาการของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม