วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิชากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม

เกี่ยวกับมลพิษทางน้ำและทางอากาศ


1. ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมานานแล้ว บางฉบับนานกว่า 1 ศตวรรษ ได้แก่
            พระราชบัญญัติรักษาคลอง ร.. 112
            พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456
            พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2484
2. แต่กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยมีในช่วงแรกดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์โดยตรงในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หากแต่เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์หลักในเรื่องอื่น ซึ่งมีบทบัญญัติเรื่องสิ่งแวดล้อมรวมอยู่ด้วย เช่น
            พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อมุ่งวางระเบียบการสัญจรทางน้ำ แต่มีบทบัญญัติบางมาตราที่ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งกรวด หิน ดิน ทราย หรือสิ่งปฏิกูลอย่างอื่นลงในแม่น้ำ ลำคลอง ทางน้ำ หรือพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2484 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อจัดการการใช้ประโยชน์ของป่าไม้ เช่นการให้สัมปทานฯลฯ แต่มีบทบัญญัติบางมาตราที่ห้ามตัดไม้บางชนิด ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
3. ต่อมาได้มีการบัญญัติกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อ พ.. 2518 คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2518
            สาเหตุของการออกพระราชบัญญัติดังกล่าวเนื่องจาก
(1)   น้ำในแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำท่าจีนเน่าเสียอย่างรุนแรง ปลาในแม่น้ำดังกล่าวตายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานน้ำตาลหลายแห่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำดังกล่าว
(2)     แรงกดดันจากนานาอารยะประเทศที่เข้าประชุมสหประชาชาติว่าด้วยมนุษย์และสิ่งแวดล้อม (United Nations Conference of Human and the Environment) ที่กรุงสตอคโฮม ประเทศสวีเดน เมื่อปี พ.. 2515 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมด้วย และที่ประชุมได้มีมติให้ประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญามีพันธะกรณีให้ต้องออกกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นการเฉพาะ
4. ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2518 อีกหลายครั้ง และครั้งล่าสุดคือ เมื่อ พ.. 2535 ในสมัยที่นายอานันท์  ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งในสมัยนี้มีการแก้ไขกฎหมายฉบับอื่นที่แม้ไม่มีวัตถุประสงค์โดยตรงในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วยอีกหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. 2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.. 2535
5. ดังนั้นเมื่อนับจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่มากมายหลายฉบับเช่น
            รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540
            พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2535
            พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.. 2584
            พระราชบัญญัติการประมง พ.. 2490
            พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.. 2507
            พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2535
            พระราชบัญญัติโรงงาน พ.. 2535
            พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.. 2535
            พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.. 2456
            พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.. 2535
            พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.. 2535
            ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
            ประมวลกฎหมายอาญา
            ประมวลกฎหมายที่ดิน
6. ดังได้กล่าวแล้วว่าประเทศไทยได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมมากเป็นประวัติการณ์ใน พ.. 2535 ซึ่งกฎหมายที่ปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวมีหลักเกณฑ์สำคัญดังนี้
- การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
- การมีส่วนร่วมของประชาชน
- หลัก ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย
- มาตรการจูงใจ
- ความรับผิดชอบทางแพ่งอย่างเคร่งครัด
- มาตราการทางปกครอง
- โทษทางอาญา
7. หลักการใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าวส่วนมากประเทศไทยรับเอามาจากต่างประเทศซึ่งประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมมาก่อนประเทศไทย
8. อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกฎหมายและมีหลักการใหม่ๆ หลายประการดังกล่าว แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างต่อเนื่อง และการวิจัยพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยประสบมากที่สุดคือเรื่องมลพิษทางน้ำ และมลพิษทางอากาศ
9. จึงเกิดคำถามว่าเมื่อประเทศไทยได้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยนำเอาหลักการใหม่ๆ ที่ใช้ได้ผลในต่างประเทศมาแล้ว เหตุใดจึงยังมีปัญหามลพิษอยู่
10. ในการวิเคราะห์เรื่องนี้ ในเบื้องต้นต้องพิจารณาถึงความหมายของกฎหมายและกลไกที่จะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้เสียก่อน
11. กฎหมาย หมายถึง ข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ หากฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษ
12. เห็นได้ว่ากฎหมายต้องมี สภาพบังคับ” (Sanction)
13. ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement) จึงเป็น หัวใจของกฎหมาย
14. ประเด็นพิจารณา
-          ปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทยเกิดจากการขาดการบังคับใช้กฎหมายจริงหรือไม่
-          ถ้าใช่เกิดจากสาเหตุอะไร
-          ควรจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
15. ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของกฎหมายสิ่งแวดล้อมไทย ควรพิจารณาจากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น